สวิตชิ่งฮับ (Switching Hub)
เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับฮับ คือทำหน้าที่รวมสัญญาณ หรือเป็นจุดเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าในระบบเครือข่าย ต่างกันที่ ฮับจะทำการส่งข้อมูลโดยแพร่กระจายไปยังทุกโหนดในระบบเครือข่าย โดยไม่คำนึงว่าข้อมูลนั้นมีการระบุผู้รับหรือไม่ ส่วนสวิตชิ่งฮับจะทำการส่งข้อมูลโดยพิจารณาการกำหนดเส้นทางจากตารางตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง เพื่อให้ข้อมูลเดินทางไปยังผู้รับที่ระบุโดยตรง
Switch Hub เป็น อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อให้คอมพิวเตอร์ ที่ตั้งอยู่คนละที่นั้น สามารถที่จะสื่อสารกันได้นั่นเอง
ซึ่งโดยปกติแล้ว จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
-
Managed Switch
หมายถึง Switch ที่ผู้ใช้งานนั้น สามารถที่จะทำการตั้งค่าการทำงานได้ เช่น ตั้งค่าผ่าน CLI, GUI, WUI ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ในกลุ่มงานอุตสาหกรรมมักจะนิยมใช้ประเภทนี้ค่อนข้างแพร่หลาย
เพราะนอกจากจะสามารถตั้งค่าให้เหมาะสมกับงานที่หลากหลายได้แล้วนั้น ยังทำให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบ แก้ไขปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้น ได้สะดวก และ ง่ายขึ้นนั่นเอง
โดยทั่วไปแล้ว ราคาของ Managed Switch ลักษณะนี้จะสูงกว่า แต่ก็คุ้มค่ามากกว่าเมื่อมันเกิดปัญหานั่นเอง
2. Unmanaged Switch
หมายถึง Switch ที่สามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ เพียงแค่ต่อสาย LAN ก็ทำงานได้เลย ข้อด้อยคือ ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเข้าไปตั้งค่าใดๆ ได้
Hub กับ SWITCH แตกต่างกันอย่างไร?
Hub จะส่งข้อมูลที่เข้ามาไปยังทุกๆ พอร์ตของ Hub ยกเว้นพอร์ตที่ข้อมูลดังกล่าวเข้ามายัง Hub ในขณะที่ Switch จะทำการเรียนรู้อุปกรณ์ที่ต่อกับพอร์ตต่างๆ ทำให้ Switch ส่งข้อมูลไปยังพอร์ตที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ไม่ส่งไปทุกๆ พอร์ตเหมือนกับ Hub ซึ่งส่งผลให้ปริมาณข้อมูลภายในระบบเครือข่ายไม่มากเกินความจำเป็น Hub เป็นเพียงตัวขยายสัญญาณข้อมูล (Repeater) เท่านั้น ในขณะที่ Switch จะมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่า, มีการเรียนรู้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ, การตัดสินใจส่งข้อมูลออกไปพอร์ตใด
ปัจจุบันในท้องตลาดที่จำหน่ายอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ Switch กันหมดแล้ว เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่า Hub และอุปกรณ์ Switchในท้องตลาดจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ Managed Switch และ Unmanaged Switch โดยประเภท Managed Switch จะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถบริหารจัดการได้บนอุปกรณ์ อาทิ การจัดการด้าน VLAN (Virtual LAN) และอื่นๆ เป็นต้น